จีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานับแต่มีการปฏิรูปและเปิดประเทศ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา รวมถึงการคอรรับชั่น ช่องว่างในการพัฒนา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ ผู้นำจีนรุ่นใหม่จึงตระหนักว่าการพัฒนาต่อจากนี้จะไม่สามารถใช้รูปแบบเดิม ที่ให้จีนเป็นแหล่งการผลิตโดยใช้แรงงานราคาถูกเพื่อส่งออกตลาดโลกได้อีกต่อ ไป ขณะเดียวกันจีนก็ไม่ต้องการใช้รูปแบบการพัฒนาแบบตะวันตก จึงต้องหาแนวทางการพัฒนาของตนเอง
การพัฒนาเศรษฐกิจจีนในยุคที่ 2 ให้ความสำคัญกับคำว่า “ปฏิรูป ควบคู่กับ “นวัตกรรมใหม่” เพื่อขับเคลื่อนจีนให้บรรลุความฝัน China’s Dream ที่จะสร้างสังคมอยู่ดีกินดี (เสี่ยวคัง) ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นการครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) โดยจะเพิ่มจำนวนชนชั้นกลางจาก 300 เป็น 500 ล้านคน และให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีความทันสมัยและมีชนชั้นกลางจำนวนเกินครึ่ง หนึ่งของประชากรภายในปี ค.ศ. 2049 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
รัฐบาลตระหนักว่าไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักได้ เช่นในอดีต จึงมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและการขยายตัวของเขตเมือง โดยส่งเสริมการเติบโตของชนชั้นกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานย้ายถิ่นประมาณ 269 ล้านคนและมีรายได้เฉลี่ยประมาณวันละ 14 ดอลลาร์สหรัฐ โดยพยายามปรับปรุงสวัสดิการแก่แรงงานย้ายถิ่น และนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในลักษณะต่าง ๆ อาทิ การจัดตั้งเขตทดลองการค้าเสรีนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งหากประสบความสำเร็จรัฐบาลจะเป็นต้นแบบในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศต่อไป
ความสำเร็จทางนวัตกรรมประการหนึ่งคือความแพร่หลายของธุรกิจออนไลน์ในจีน โดยปัจจุบันมีชาวจีนที่ใช้อินเตอร์เน็ต (netizens) ประมาณ 618 ล้านคน มี SMEs จำนวน 7 ล้านรายเข้ามาทำธุรกิจออนไลน์ และบริษัทธุรกิจออนไลน์อย่าง Alibaba ของจีนได้เติบโตรวดเร็วจนกลายเป็นบริษัทระดับโลก และขยายบริการไปยังธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคการเงินทางอินเตอร์เน็ต โดยรับฝากเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ถึง 15 เท่า สามารถระดมเงินจากผู้ฝากรายย่อยได้จำนวนมหาศาล ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มาก ทั้งนี้ รัฐบาลยังลังเลที่จะเข้ามาควบคุมเนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกับประชาชนจำนวนมาก ที่ใช้บริการนี้
ธุรกิจไทยที่สนใจในตลาดจีนควรนำนโยบายสำคัญของรัฐบาลจีน และแนวโน้มเหล่านี้เป็นโจทย์ ในการวางกลยุทธบุกตลาดจีน เช่นเน้นสินค้าหรือบริการที่เน้นนวัตกรรมใหม่ ให้ความสำคัญกับตลาดธุรกิจออนไลน์ และปัจจัยเชิงคุณภาพอื่น ๆ อาทิ ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านอาหาร เนื่องจากปัจจุบันชาวจีนซึ่งมีกำลังซื้อมากขึ้นให้ความสำคัญกับคุณภาพของ สินค้าและบริการ และเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีให้แก่บุตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกคนเดียว หากไทยสามารถทำให้คนจีนเชื่อมั่นได้ในความปลอดภัยของสินค้าไทยว่าปราศจากสาร พิษ ผู้บริโภคจีนพร้อมจ่ายให้สินค้านี้ในราคาแพงกว่าเพื่อคุณภาพที่ดีของสินค้า
ธุรกิจไทยควรใช้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ในไทยปีละ 4 – 5 ล้านคน หากคนเหล่านี้รู้จักสินค้าไทยจะช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้สินค้าไทยเป็นที่ นิยมต่อไป ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าการจัดแสดงสินค้า
สอท./ สกญ. ส่งเสริม soft power ไทยผ่านสื่อบันเทิงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์และละครไทยอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดกิจกรรมเช่น เทศกาลภาพยนตร์ไทย ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยสร้างความนิยมไทยในหมู่คนรุ่นใหม่ของจีน และส่งผลบวกต่อการท่องเที่ยวและการค้าได้ต่อไป ปัจจุบัน สอท.ฯ มีเว็บไซต์ weibo เพื่อสื่อสารกับชาวจีนรุ่นใหม่เพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องต่าง ๆ โดยมีผู้ติดตามถึงกว่า 50,000 คน ในขณะที่ weibo ของ สกญ. ณ นครเซี่ยงไฮ้ และ สกญ. ณ นครกว่างโจวก็มีผู้ติดตามแห่งละ 30,000 และ 20,000 หมื่นคน ตามลำดับ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของไทยในบรรดาประเทศอาเซียน สิ่งสำคัญคือจะต้องสร้างบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญภาษาจีนให้พอเพียงต่อ ความร่วมมือที่เพิ่มมากขึ้น
การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจของจีนเป็นการขยายผลจากการเมือง โดยนโยบายเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านการเมือง อาทิ การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความชอบธรรมให้ แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือการประกาศแนวคิดของประธานาธิบดีจีนเรื่องทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับอาเซียน ดังนั้น รัฐบาลจะพิจารณาสนับสนุนโครงการที่จะตอบสนองประโยชน์ทางการเมืองโดยอาจใช้ โครงการเหล่านี้ในการซื้อใจประเทศอื่น ๆ ให้หันมาฝักใฝ่กับจีน หรือสนองต่อท่าทีในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์หลักของจีนเช่น ไต้หวัน ซินเจียง ธิเบต
การที่จีนประกาศจัดตั้งธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB)โดยรับผิดชอบครึ่งหนึ่งของเงินทุนจดทะเบียน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และดำเนินการบริหารเอง เป็นอีกความพยายามของจีนในการอาศัยข้อเสนอนี้เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการ เมือง เพื่อให้ AIIB แข่งกับ ADBซึ่งญี่ปุ่นมีบทบาทนำและใช้เพื่อคานอำนาจสหรัฐฯ ซึ่งมีนโยบายจะกลับมามีบทบาทในภูมิภาค นอกจากนี้ การจัดตั้งธนาคาร AIIB ยังจะช่วยสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย ซึ่งสนองผลประโยชน์ของจีนในการส่งเสริมการเข้าไปดำเนินการของบริษัทก่อสร้าง จีนในต่างประเทศ และช่วยระบายเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวน 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนดึงเงินออมภายใน ประเทศผ่านการออกพันธบัตรเงินหยวน
พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจีนติดกับทะเลจีนตะวันออก ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการคมนาคมขนส่งและการติดต่อกับต่างชาติ ดังนั้น นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซู และมณฑลอานฮุย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในภาคดังกล่าว จึงเป็นเขตติดต่อกับต่างชาติมาแต่สมัยอดีต นอกจากนี้ นครเซี่ยงไฮ้ยังตั้งอยู่บนบริเวณเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเลของแม่น้ำแยงซีเกียงซึ่งไหลผ่านมณฑลและมหานครทางทิศ ตะวันตกของจีน อาทิ มณฑลเสฉวน และมหานครฉงชิ่ง จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในปี 2528 รัฐบาลจีนได้กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่ น้ำแยงซีเกียง ส่งผลให้พื้นที่นี้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน การเงิน และการขนส่งของทั้งภายในจีนและระหว่างประเทศ ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นจากการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงาน และมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นตามมา
ในปี 2556 มูลค่ารวมของ GDP ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของ GDPจีน และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของนครเซี่ยงไฮ้และทั้ง 3 มณฑลอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย (ร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่งออกจากไทยไปจีน) ในขณะที่ภาคธุรกิจของไทยให้ความสนใจดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพและจุดเด่นที่แตกต่างของแต่ละพื้นที่ ดังนี้
เป็นเมืองที่รัฐบาลจีนได้วางนโยบายให้เป็น ศูนย์กลางระหว่างประเทศใน 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ การเงิน การค้า และการคมนาคมขนส่งทางเรือ ซึ่งเน้นธุรกิจภาคบริการเป็นหลัก มีผู้บริโภคมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีรสนิยมและกำลังซื้อสูง สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมากของเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน
ได้แก่ ธุรกิจในภาคบริการ เช่น ร้านอาหาร สปา ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจสถานพยาบาล และธุรกิจเพื่อสุขภาพ รวมถึงการขายสินค้ามีคุณภาพและมีการออกแบบสร้างสรรค์ของไทย เพื่อตอบสนองรสนิยมและกำลังซื้อระดับสูงของชาวนครเซี่ยงไฮ้ เช่น สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง ของตกแต่งบ้านหรือสินค้า designเป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจไทยในนครเซี่ยงไฮ้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และร้านอาหารไทยต่าง ๆ เครือ CP ปตท.(พลาสติก) Aeroflex (พลาสติก) โอเชียนกลาส และดอกบัวคู่
เป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญ มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่ง โดยมีปริมาณอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลมากที่สุดในจีน เป็นฐานอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของจีน มีท่าเรือเหลียนหยุนกั่งที่เป็นท่าเรือหลัก 1 ใน 3 ของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย-ยุโรป อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ มีมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติมากเป็นอันดับที่ 1 ของจีน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเกาหลีใต้ โดยลงทุนในอุตสาหกรรมเบา อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์
ได้แก่ ธุรกิจการผลิตสินค้าซึ่งใช้มณฑลเจียงซูเป็นฐานการผลิตและส่งออก ทั้งนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจไทยในมณฑลเจียงซู ได้แก่ อาหารแปรรูป (เช่น บริษัทเฮอริเทจ) อสังหาริมทรัพย์ (เช่น Dehou Real Estate) และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องยนต์ (เช่น บริษัท Thai Summit)
มีศักยภาพทั้งภาคธุรกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการขนส่ง โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ของแต่ละเมืองแบ่งตามภูมิภาคได้เป็นอย่างดี อาทิ ตอนเหนือของมณฑล มีนครหางโจวเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการบริโภค ตอนกลางมีเมืองอี้อูเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าส่ง ตอนใต้มีเมืองเวินโจวเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนของวิสาหกิจภาคเอกชนชั้นนำ ของจีน และทางตะวันออกมีเมือง หนิงโปเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญระดับนานาชาติ ทำให้เจ้อเจียงเป็นมณฑลที่มั่งคั่ง ประชากรมีกำลังซื้อสูง ทั้งนี้ มณฑลเจ้อเจียงเป็นมณฑลที่มีภาคธุรกิจออกไปลงทุนในต่างประเทศมากเป็นอันดับ 1 ของจีน
ได้แก่ การขายสินค้าไทยคุณภาพสูงเพื่อตอบสนองกำลังซื้อระดับสูงของชาวมณฑลเจ้อเจียง และอาจใช้ตลาดอี้อูซึ่งเป็นตลาดสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดของโลกเป็นช่อง ทางจำหน่ายสินค้าไทยให้กับจีนและต่างชาติได้ ธุรกิจไทยในมณฑลเจ้อเจียงได้แก่ ห้างสรรพสินค้า (เครือเซ็นทรัล) สิ่งทอและเคมีภัณฑ์ (เครือสหยูเนียน) และอาหารแปรรูป (บริษัทดัชมิลล์ซึ่งทำน้ำผลไม้กระป๋อง)
มีความเข้มแข็งทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตรถยนต์ ซึ่งมีปริมาณการส่งออกมากเป็นอันดับที่ 1 ของจีน และการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนซึ่งมีปริมาณการผลิตสูงอยู่ในระดับแนว หน้าของจีน และยังมีระดับต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำสุดในเขตเขตพื้นที่เศรษฐกิจสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำแยงซีเกียง
ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่อานฮุยให้ความสำคัญและ เร่งการพัฒนา อาทิ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงและสิ่งทอ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจไทยในมณฑลอานฮุยได้แก่ธุรกิจร่วมทุนไทย – จีนในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ (บริษัทอู๋หูฉางซิง)
เขตทดลองการค้าเสรีนครเซี่ยงไฮ้ (SFTZ) เป็นนวัตกรรมทางเศรษฐกิจล่าสุดของจีนเพื่อทดลองการปฏิรูปและเปิดกว้าง เศรษฐกิจของจีน ประกาศการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2556 โดยครอบคลุมพื้นที่ 28.78 ตร.กม. และรวมพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ 4 แห่ง ได้แก่
เปิดกว้างให้มีการลงทุนในภาคธุรกิจที่รัฐบาลจีนเคย จำกัดระเบียบมิให้ต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 100 หรือจำเป็นต้องใช้เวลานานก่อนจะมีสามารถมีสถานะเป็นสาขาธุรกิจได้ ได้แก่
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ SFTZ จะได้สิทธิเหมือนบริษัทสัญชาติจีนในหลากหลายประเภทธุรกิจกว่าการจดทะเบียน จัดตั้งนอกเขต SFTZและใช้เวลาการขออนุญาตเพียง 4 วันสำหรับกรณีประกอบกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคหรืออุตสาหกรรม พื้นฐานขนาดใหญ่ ที่เกี่ยวข้องมั่นคงและปลอดภัยของจีน ซึ่งเป็นบัญชีต้องห้ามครอบคลุม 16 หมวดธุรกิจ (Negative List) แต่หากจะดำเนินกิจการที่อยู่ใน Negative Listจะต้องได้รับการอนุมัติจากทางการจีนก่อนการจัดตั้งบริษัท
โดยส่งเสริมธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงจีนกับตลาดโลก อาทิ กิจการข้ามชาติที่จะมาตั้งสำนักงานภูมิภาคใน SFTZ เพื่อดำเนินกิจการ e-commerce ข้ามชาติ ตลาดสินค้าล่วงหน้า (อาทิ สินค้าเกษตร น้ำมัน ทองคำ) และตลาดขายพันธบัตร ซึ่งสิทธิพิเศษด้านภาษี รวมถึง
โดยส่งเสริมให้เงินหยวนสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างเสรี สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศและการใช้เป็นเงินทุน ใช้ระบบดอกเบี้ยตามกลไกตลาด อนุญาตให้ตั้งสาขาธนาคารที่ต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 100 ได้ และอนุญาตให้ธนาคารจีนทำธุรกรรมนอกประเทศได้ (offshore banking)
เปิดให้บริการชำระเงินหยวนข้ามพรมแดนโดยผ่านบริษัทชำระเงินบุคคลที่ 3 (3rd party payment firms) ซึ่งปัจจุบันมีธนาคาร 5 แห่งร่วมมือกับบริษัทเอกชน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเคลื่อนย้ายเงินหยวนตามการซื้อขายจริงระหว่างผู้ รับเงินและผู้ชำระเงินทั้งในจีนและต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ ส่งผลให้การทำธุรกรรมเงินหยวนสะดวกขึ้น
พัฒนากฎระเบียบให้เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงพัฒนากลไกการทำงานของภาครัฐที่ส่งเสริมความเป็นธรรมทางการค้าและการลง ทุนภายใน SFTZโดยได้จัดทำกฎระเบียบว่าด้วยระบบอนุญาโตตุลาการเพื่อเป็นแนวทางการแก้ ปัญหาข้อพิพาททางธุรกิจในเขต SFTZ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่
เนื่องจาก SFTZ ยังอยู่ในช่วงของระยะทดลอง 3 ปี จึงมีการทยอยประกาศกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งยังมีกฎระเบียบอีกหลายประการที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความลังเลในการเข้าลงทุนในพื้นที่ SFTZ สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในเขต SFTZ เมื่อเดือน มี.ค. 2557 มีบริษัทจดทะเบียนรวมจำนวน 7,492 บริษัท แต่มีบริษัทต่างชาติเพียง 622 บริษัท (ร้อยละ 8.3) ผู้ประกอบการจึงควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ของ SFTZ เพื่อประกอบการตัดสินใจการทำธุรกิจว่าจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากพื้นที่ เศรษฐกิจอื่น ๆ ของจีนหรือไม่
มณฑลกวางตุ้งอยู่ทางใต้สุดของจีน มีนครกว่างโจวเป็นเมืองเอก โดยมณฑลฯ มีขนาด GDP อันดับ 1 ของจีนมาติดต่อกันเป็นเวลา 25 ปี จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและสร้างรายได้ ให้ประเทศ เมื่อนายสี จิ้นผิงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางเมื่อเดือน พ.ย. 2555 ได้เลือกเดินทางมาเยือนมณฑลกวางตุ้งเป็นที่แรกในเดือน ธ.ค. 2555 ซึ่งการเยือนครั้งนี้ ส่งผลสำคัญต่อการวางนโยบายของมณฑลกวางตุ้งในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นเมื่อนายสี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ชูแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 ระหว่างการเดินทางเยือนอินโดนีเซีย และต่อมาแนวคิดนี้ได้เข้าสู่การพิจารณาการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจระยะยาวในที่ ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 ครั้งที่ 3 เมื่อเดือน พ.ย. 2556 สรุปได้ว่าจีนจะยังใช้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบตลาดโดยคงอัตลักษณ์แบบจีน ซึ่งเป็นแนวทางที่ประธานาธิบดีสีเคยกล่าวไว้ว่า “เศรษฐกิจสังคมนิยมแบบตลาดต้องการทั้งตลาดและรัฐบาล แต่มีบทบาทต่างกัน” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่เติ้ง เสี่ยวผิงเคยกล่าวว่า “เศรษฐกิจแบบตลาดไม่ใช่ระบบทุนนิยม เนื่องจากในระบอบสังคมนิยมก็มีตลาดได้เช่นกัน” หลังจากที่มีนโยบายผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง ได้แก่ เซินเจิ้น จูไห่ ซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้ง และเซี่ยเหมินในมณฑลฝูเจี้ยน จนประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้กำหนด 6 ภารกิจทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557 ได้แก่
ในประเด็นข้างต้น การเปิดตลาดมีความเกี่ยวข้องกับมณฑลกวางตุ้งโดยตรง รัฐบาลกลางชุดใหม่ของจีนเสนอแนวคิด 2 เรื่อง ในการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ได้แก่
มณฑลกวางตุ้งแปลแนวคิดจากส่วนกลางมากำหนดเป็นเป้าหมาย หลักได้แก่ "3 สถานะ 2 แนวหน้า"
โดย 3 สถานะ ได้แก่
ในขณะที่ 2 แนวหน้าได้แก่
ทั้งนี้ กวางตุ้งกับไทยมีกลไกระดับรัฐบาลที่จะเชื่อมโยงนโยบายระหว่างกันทั้งในรูป คณะทำงานไทย-กวางตุ้ง และกรอบความร่วมมือในภูมิภาค เช่น อาเซียน เอเปค นอกจากนี้ ยังมีเครือข่าย สกญ. ต่าง ๆ ในมณฑลที่มีอยู่ถึง 49 แห่ง โดย สกญ. ณ นครกว่างโจวเป็น สกญ. แห่งแรกของไทยในจีน และถือเป็นประเทศที่ 3 ที่ตั้ง สกญ. ในมณฑลกวางตุ้ง
มีความเชื่อมโยงกับไทยทั้งทางอากาศ ทางเรือ (ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านฮ่องกง) ทางบก (ผ่านกว่างซี เวียดนาม และลาว ด้วยเส้นทาง R8 R9 หรือ R12) ทั้งนี้ มณฑลกวางตุ้งมีการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางบกถึง 460 โครงการพัฒนาทางบก มีท่าเรือทั้งเล็กและใหญ่รวมประมาณ 2,000 แห่ง โดยมีผลไม้จากไทยส่งไปวันละ 100 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ยังมีปัญหาเรื่องค่าระวางสูง ซึ่งหากลดลงได้จะช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานในหลายเมือง และได้ขยายท่าอากาศยานที่เซินเจิ้นให้ใหญ่ขึ้นแล้ว ซึ่งกลไกที่จะช่วยเชื่อมโยงด้านคมนาคมที่สำคัญได้แก่สมาคมโลจิสติกส์ กวางตุ้ง
มณฑลกวางตุ้งมีการค้ากับอาเซียนในปริมาณ สูง และการค้าระหว่างกวางตุ้งกับไทยคิดเป็น 1 ใน 4 ของการค้ารวมไทย-จีน โดยผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากงานมหกรรมสินค้าขนาดใหญ่ของมณฑล กวางตุ้ง เช่น แคนตันแฟร์ กว่างโจวแฟร์ เพื่อขยายตลาด ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557 รัฐบาลจีนได้อนุมัติโครงการเขตการค้าเสรีมณฑลกวางตุ้งใน 3 เมือง ได้แก่หนานซา เหิงฉิง และเชียนไห่ และในบางพื้นที่ของสนามบินไป่หยุน
ไทยกับจีนมีความตกลง Bilateral Swap Agreement ระหว่างกัน
ไทยมีความได้เปรียบเรื่องความเชื่อมโยงในระดับประชาชน เนื่องจากชาวจีนเชื้อสายกวางตุ้งคิดเป็นร้อยละ 79 ของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทยยังเป็นมีชาวจีนโพ้นทะเลเชื้อสายแต้จิ๋วใหญ่ที่สุดอีกด้วย
การทำธุรกิจใด ๆ ในจีน หากไม่สวนนโยบายของรัฐบาลจะสามารถดำเนินการได้สะดวก แต่หากไม่สนองนโยบายรัฐบาลก็จะดำเนินการไม่ได้ เช่น Google Facebook Twitter
ระบบการเงินในจีนยังมีลักษณะปิด มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงและขั้นต่ำ กำหนดวงเงินปล่อยกู้ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำได้โดยยากโดยเฉพาะสำหรับชาวต่างชาติ แต่จีนได้ทดลองเปิดเสรีแล้วที่เขตทดลองการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้
ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่ทำการค้าเป็นอันดับ 1 ของโลก และเงินหยวนถือเป็นเงินสกุลหลักอันดับที่ 3 ในตลาดเอเชีย โดยหากพิจารณาเฉพาะการเปิด L/C เงินหยวนได้ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของโลก อย่างไรก็ตาม การใช้เงินหยวนในการค้าและการลงทุนในตลาดโลกโดยรวมยังจำกัดเพียงไม่ถึงร้อย ละ 2 และการค้าไทยจีนก็พึ่งพาดอลลาร์สหรัฐร้อยละ 99 ซึ่งการใช้เงินสกุลอื่นในการทำการค้ากับจีนจะทำให้มีต้นทุนตามมา
เมื่อเดือน ก.พ. 2557 ธนาคารกลางจีนได้ปลดล็อคการผันผวนของค่าเงินหยวนจาก ± ร้อยละ 1 เป็น ± ร้อยละ 2 ซึ่งน่าจะส่งผลให้ค่าเงินหยวนไม่มีแนวโน้มแข็งตัวขึ้นต่อเนื่องอีกต่อไป หรืออาจอ่อนตัวได้ในอนาคตเพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออกของจีน เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาการส่งออกลดลงทำให้เกิดแรงกดดันต่อค่าเงิน ดังนั้นผู้ค้าจีนต้องเริ่มหันมาทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน มากขึ้น ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นและอาจผลักภาระให้ผู้ซื้อโดยการขึ้นราคาสินค้า
ประโยชน์ที่อาจได้รับจากการทำธุรกรรมในรูปเงินหยวน อาทิ หากผู้นำเข้าไทยทำสัญญากับผู้ส่งออกจีนในรูปเงินหยวน ก็อาจสามารถต่อรองลดราคาสินค้าลงได้ เนื่องจากจีนจะมีต้นทุนถูกลงเช่นกัน นอกจากนี้ ในการเปิด L/C ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐโดยปกติจะทำได้ในระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน หากเกินกว่านั้นจะต้องขออนุญาต เนื่องจากจีนมีการกีดกันในรูปโควต้าการเปิด L/C ในสกุลดอลลาร์สหรัฐระยะยาว แต่หากทำในรูปเงินหยวนจะไม่มีข้อจำกัดนี้ และนโยบายรัฐบาลจีนที่จะส่งเสริมให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักจะยิ่งเอื้อให้ การทำธุรกรรมในรูปเงินหยวนได้สิทธิประโยชน์สูงขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน margin อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินหยวน (กรณีไม่ใช่ธนบัตร) แทบไม่ต่างกันแล้ว จึงเห็นว่าธุรกิจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปทำธุรกรรมกับจีนในรูปเงินหยวนทั้ง หมด เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งทำธุรกิจกับหลายประเทศคู่ค้า การต้องติดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินสองสกุลอาจสร้างความสับสนได้ แต่ควรจะเปิดช่องทางสำหรับการดำเนินธุรกรรมในรูปเงินหยวนไว้ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่ค้าชาวจีน จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการเจรจาธุรกิจมากขึ้น
ออท.ฯ ให้ความเห็นว่าโดยที่ไทยไม่ใช่ประเทศอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ จีนจึงหวังให้ไทยเป็นตัวเชื่อมความเข้าใจระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียน ซึ่งกำลังมีปัญหาในทะเลจีนใต้ในปัจจุบัน ซึ่งในความเป็นจริงนอกจากการอ้างสิทธิในเขตแดนแล้วยังรวมถึงทรัพยากร ธรรมชาติใต้ทะเลอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จีนจึงได้เสนอแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้มีความร่วมมือกัน และหวังว่าไทยจะมีบทบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากนโยบายการเข้ามามีบทบาทของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ หลังจากสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่ ๆ จีนต้องการให้ไทยเป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่น ๆ เช่นมาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งมีนโยบายกีดกันชาวจีน เนื่องจากไทยประสบความสำเร็จต่อการดำเนินนโยบายชาวจีนโพ้นทะเล
กสญ. ณ นครเซี่ยงไฮ้ เสริมว่าเมื่อ 2 ทศวรรษที่แล้ว ก่อนที่จีนจะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน จีนต้องอาศัยไทยเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับอาเซียน เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ไม่เคยมีปัญหากับจีนทางประวัติศาสตร์
กสญ. ณ นครกว่างโจว เพิ่มเติมว่า มี สกญ. อาเซียน 8 ประเทศตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง โดยไทยเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นของจีนเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นในอาเซียน เช่นฟิลิปปินส์ที่มีปัญหากับจีนในทะเลจีนใต้ ทำให้ประสบปัญหาการกีดกันทางการค้า หรือมาเลเซียที่ยังมีปัญหาสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH370
นายอนันต์ฯ ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับวงเงินสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt: T/R) สำหรับเงินหยวนยังไม่ได้รับการปลดล็อค จึงยังอยู่ในระดับสูงที่กว่าร้อยละ 6 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของวงเงินในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 3 จึงเป็นต้นทุนที่นักธุรกิจต้องนำไปประกอบการตัดสินใจ
นายอนันต์ฯ ยอมรับว่าเป็นความจริงที่บริษัทจีนบางแห่งไม่รับ L/C ของธนาคารต่างชาติที่จีนไม่รู้จัก ซึ่งทางธนาคารฯ ได้ประสบผลสำเร็จในการช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาแล้ว เช่นส่งเจ้าหน้าที่ไปพบกับบริษัทผู้ค้าจีนพร้อมกับลูกค้า รวมทั้งเสนอการทำวงเงินค้ำประกันแก่ผู้ค้าจีน ซึ่งจะช่วยชดเชยและปิดช่องว่างที่จีนไม่รับ L/C ของบริษัทไทยได้
บรรยากาศงานเสวนา คลิก
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก : กองเอเชียตะวันออก 3 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ